เครื่องหมายการค้าหนึ่ง ๆ มักจะทำหน้าที่โดยทั่วไปอยู่ 4 ประการดังต่อไปนี้คือ
1. หน้าที่ในการบ่งชี้และแยกแยะตัวสินค้า
2. หน้าที่ในการบ่งบอกแหล่งที่มาของสินค้า
3. หน้าที่ในการบ่งบอกคุณภาพของสินค้า
4. หน้าที่ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์
หน้าที่ดังกล่าวข้างต้นนี้ในบางข้ออาจจะผสมผสานกันไปได้ เช่น ในขณะที่เครื่องหมายการค้า
อันหนึ่งบ่งชี้ถึงความแตกต่างของตัวสินค้านั้นมันก็ทำหน้าที่บ่งบอกถึงแหล่งที่มาอันแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นนั้นด้วยในตัว
อันหนึ่งบ่งชี้ถึงความแตกต่างของตัวสินค้านั้นมันก็ทำหน้าที่บ่งบอกถึงแหล่งที่มาอันแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นนั้นด้วยในตัว
2.1 หน้าที่ในการบ่งชี้และแยกแยะตัวสินค้า
เครื่องหมายการค้าอันหนึ่งย่อมทำหน้าที่ในการบ่งชี้ (Identify) ตัวสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นและแยกแยะ (distinguish) สินค้านั้นจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นไปในเวลาเดียวกัน หน้าที่ข้อนี้ย่อมเป็นประโยชน์โดยตรงต่อเจ้าของสินค้าที่จะทำการค้าขายสินค้าและต่อผู้ซื้อที่จะสามารถซื้อหาสินค้าที่ต้องการได้โดยสะดวกโดยการดูจากเครื่องหมายการค้าของสินค้านั้นเอง
การที่เครื่องหมายการค้าต้องทำหน้าที่หลักข้อนี้นี่เองที่ทำให้มีหลักหนึ่งในกฎหมายเครื่องหมาย
การค้าของทุกประเทศว่า เครื่องหมายการค้าที่จะนำมาจดทะเบียนเพื่อรับความคุ้มครองอย่างสมบูรณ์จากกฎหมายนั้น จะต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ (distinctiveness) กล่าวคือ มีลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าที่แตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าอื่น สำหรับสินค้าในประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้ผู้ซื้อเกิดความสับสนในตัวสินค้า
2.2 หน้าที่ในการบ่งบอกแหล่งที่มาของสินค้า
หน้าที่ข้อนี้มีความใกล้เคียงกับหน้าที่ในการบ่งชี้และแยกแยะตัวสินค้ามากในส่วนที่ว่า
ในขณะที่เครื่องหมายการค้าอันหนึ่งได้ทำหน้าที่บ่งชี้และแยกแยะตัวสินค้าว่าแตกต่างกันนั้นเครื่องหมายการค้านั้นก็ได้ทำหน้าที่บ่งบอกถึงแหล่งที่มาของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วย อย่างไรก็ดี พึงเป็นที่เข้าใจว่า การบ่งบอกถึงแหล่งที่มาของสินค้านั้นไม่ถึงขนาดว่าเครื่องหมายการค้านั้นจะบอกข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้ซื้อได้เสมอไปว่าใครเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น
แต่เครื่องหมายการค้าทำหน้าที่นี้ในการที่สามารถสื่อสารให้ผู้ซื้อเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมาย
การค้าเดียวกันนั้นย่อมจะมาจากแหล่งเดียวกัน ซึ่งอาจจะมีความหมายอย่างแคบว่า มาจากผู้ผลิตและเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดียวกัน หรือมีความหมายอย่างกว้างว่ามีที่มาจากผู้ผลิตรายอื่นที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการผลิตและใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วย
2.3 หน้าที่ในการบ่งบอกคุณภาพของสินค้าเครื่องหมายการค้า ทำหน้าที่บ่งบอกคุณภาพของสินค้าในลักษณะที่ทำให้ผู้ซื้อรับรู้ได้ว่าสินค้าที่ใช้ครื่องหมายการค้าอันหนึ่ง ๆ นั้น น่าจะมีคุณภาพที่ไม่แตกต่างไปจากสินค้าชิ้นอื่น ๆ ที่ใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้น
ดังนั้น ไม่ว่าผู้ซื้อจะซื้อสินค้านั้นจากร้านใดหรือ ณ เวลาใด เขาก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกัน หน้าที่ของเครื่องหมายการค้าที่กำลังกล่าวถึงในข้อนี้จึงไม่ใช่หน้าที่ในการประกันคุณภาพของสินค้าว่ามีคุณภาพดีหรือมีมาตรฐานอย่างไร ( ซึ่งกรณีนี้จะเป็นหน้าที่ของเครื่องหมายรับรอง Certification Mark )
แต่อย่างไรก็ดี ข้อนี้มิได้หมายความว่า เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ผลิตจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงคุณภาพของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าหนึ่งมาก่อนได้ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านคุณภาพหรือรูปลักษณ์ของสินค้าขึ้น เครื่องหมายการค้าก็ยังคงทำหน้าที่นี้ได้อยู่ว่า ผู้ซื้อจะยังคงมีความเชื่อมั่นว่าสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะยังคงเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมออยู่ต่อไปเฉกเช่นเดียวกับสินค้าดั้งเดิมที่ใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้นนั่นเอง (ตัวอย่างเช่น น้ำอัดลมที่มีการเปลี่ยนส่วนผสมจากน้ำตาลธรรมชาติเป็นสารสังเคราะห์ให้ความหวานแทน เป็นต้น)
ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันนี้ซึ่งการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุนในต่างประเทศ
ขยายตัวขึ้น ประกอบกับระบบธุรกิจใหม่ ๆ ( เช่น FRANCHISE )ได้รับความนิยมขึ้น ทำให้มีการกระจายแหล่งผลิตออกไปในประเทศต่าง ๆ มากขึ้นแทนที่จะเป็นการผลิตในแหล่งผลิตเดียว และจัดส่งสินค้าสำเร็จรูปไปขายในประเทศต่าง ๆ อย่างแต่ก่อน
การควบคุมคุณภาพนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้บริโภคที่จะได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพที่ คาดหวัง
จากเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้านั้นหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เครื่องหมายการค้าที่ใช้กับ สินค้าที่แม้จะผลิตโดยผู้ผลิตต่างรายก็ยังคงสามารถทำหน้าที่บ่งบอกถึงคุณภาพอันพึงมีพึงเป็น ได้อยู่นั่นเอง
การที่เครื่องหมายการค้าสามารถทำหน้าที่ข้อนี้ได้ด้วย จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างเสริม goodwill ของตัวสินค้า และแทบจะแยกสองสิ่งนี้ออกจากกันไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเครื่องหมายการค้าใดเป็นที่รู้จักของ ผู้ซื้อแล้ว เครื่องหมายการค้านั้นก็จะนับเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญยิ่งของกิจการอีกชิ้นหนึ่ง หน้าที่บ่งบอกถึงคุณภาพในข้อนี้ก็มีความเกี่ยวโยงถึงหน้าที่สองข้อข้างต้นด้วย คือ หน้าที่ในการบ่งชี้และแยกแยะตัวสินค้ากับหน้าที่ในการบ่งบอกแหล่งที่มาของสินค้าเครื่องหมายการค้าจะทำหน้าที่เหล่านี้ได้พร้อม ๆ กัน เมื่อผู้ซื้อได้รับรู้ถึงเครื่องหมายการค้านั้น (ธัชชัย 2536 : 10)
2.4 หน้าที่ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับว่าเครื่องหมายการค้าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะการโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้น มีวัตถุประสงค์ให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้รู้จักสินค้า ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ในสินค้านั้น ๆ เพื่อเป้าหมายที่ต้องการคือการซื้อสินค้า ดังนั้นจึงจำเป็นอยู่เองที่สื่อโฆษณาจะต้องทำให้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าหนึ่ง ๆ ปรากฏแก่กลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน พอที่จะรับรู้และ จดจำได้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่สังเกตได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏในสื่อโฆษณา ต่าง ๆ จะเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่ใช้อยู่จริงกับสินค้าในท้องตลาดนั่นเอง เมื่อผู้บริโภคมีความประสงค์จะซื้อสินค้านั้นแล้ว และออกไปซื้อหาเครื่องหมายการค้าที่ติดอยู่กับตัวสินค้าก็จะทำหน้าที่ทั้งสามประการข้างต้นต่อไป (ธัชชัย 2536 : 11)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น