เครื่องหมายการค้า
หมายถึง
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ
ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543
ประเภทของเครื่องหมายการค้า
มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร
3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
รายการสินค้าและบริการที่ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร
3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
รายการสินค้าและบริการที่ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
รายการสินค้าและบริการที่ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย (ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556) แสดงรายละเอียดดังเอกสารแนบต่อไปนี้
1. สืบค้นรายการสินค้าและบริการ ในรูปแบบของ Microsoft Excel คลิกที่นี่!!
1. สืบค้นรายการสินค้าและบริการ ในรูปแบบของ Microsoft Excel คลิกที่นี่!!
2. สืบค้นรายการสินค้าและบริการ ในรูปแบบของ Microsoft Access v.2000 คลิกที่นี่!!
3. สืบค้นรายการสินค้าและบริการ ในรูปแบบของ Microsoft Access v.2003 คลิกที่นี่!!
4. แสดงรายการสินค้าและบริการ โดยเรียงตามตัวอักษร ในรูปแบบของ PDF คลิกที่นี่!!
5. แสดงรายการสินค้าและบริการ โดยเรียงตามจำพวก ในรูปแบบของ PDF คลิกที่นี่!!
3. สืบค้นรายการสินค้าและบริการ ในรูปแบบของ Microsoft Access v.2003 คลิกที่นี่!!
4. แสดงรายการสินค้าและบริการ โดยเรียงตามตัวอักษร ในรูปแบบของ PDF คลิกที่นี่!!
5. แสดงรายการสินค้าและบริการ โดยเรียงตามจำพวก ในรูปแบบของ PDF คลิกที่นี่!!
การได้มาซึ่งสิทธิในเครื่องหมาย
ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า มิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะต้องนำเครื่องหมายการค้าที่คิดขึ้น ไปทำการจดทะเบียนเสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
ก. 02
|
ก. 03
|
ก. 04
|
ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
การยื่นคำขอ
ให้ยื่นต่อสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau) ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) โดยยื่นผ่านสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิดของประเทศผู้ขอ ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบและรับรองว่าเครื่องหมายที่ยื่น สินค้าและ/หรือบริการที่ระบุ เหมือนกับคำขอรากฐาน (Basic Application) หรือทะเบียนรากฐาน (Basic Registration)
ให้ยื่นต่อสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau) ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) โดยยื่นผ่านสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิดของประเทศผู้ขอ ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบและรับรองว่าเครื่องหมายที่ยื่น สินค้าและ/หรือบริการที่ระบุ เหมือนกับคำขอรากฐาน (Basic Application) หรือทะเบียนรากฐาน (Basic Registration)
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จะนำไปยื่นขอจดทะเบียนระหว่างประเทศตามพิธีสารกรุงมาดริดได้นั้น ต้องเป็นคำขอที่มีการยื่นขอจดทะเบียน
หรือได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในประเทศต้นกำเนิดการจดทะเบียน การจดทะเบียนแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
1.ขั้นตอนระหว่างประเทศ
2.ขั้นตอนในประเทศ
>>รายละเอียดเพิ่มเติม<<
1.ขั้นตอนระหว่างประเทศ
2.ขั้นตอนในประเทศ
>>รายละเอียดเพิ่มเติม<<
หน้าที่ของเครื่องหมายการค้า
1. หน้าที่ในการบ่งชี้และแยกแยะตัวสินค้า
2. หน้าที่ในการบ่งบอกแหล่งที่มาของสินค้า
3. หน้าที่ในการบ่งบอกคุณภาพของสินค้า
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทำอย่างไร?
วิธีการ
1. เครื่องหมายของท่านเหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นหรือไม่ท่านสามารถตรวจสอบว่าเครื่องหมายของท่านเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่น ที่ยื่นจดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ โดยยื่นคำร้องขอ ตรวจค้น และชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อชั่วโมง (สามารถตรวจด้วยตนเอง ที่ฝ่ายบริการและตรวจรับคำขอ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน ชั้น 3)
1. เครื่องหมายของท่านเหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นหรือไม่ท่านสามารถตรวจสอบว่าเครื่องหมายของท่านเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่น ที่ยื่นจดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ โดยยื่นคำร้องขอ ตรวจค้น และชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อชั่วโมง (สามารถตรวจด้วยตนเอง ที่ฝ่ายบริการและตรวจรับคำขอ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน ชั้น 3)
2. จะใช้แบบพิมพ์อะไร
2.1 ก.01 คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม
2.2 ก.16 บัตรแข็ง
3. จัดเตรียมคำขออย่างไร
3.1 พิมพ์ข้อความในแบบพิมพ์ ก.01 พร้อมลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทน (ต้นฉบับ)
3.2 ถ่ายสำเนาแบบพิมพ์ ก.01 ที่พิมพ์และลงลายมือชื่อเรียบร้อยแล้ว ตามข้อ 3.1 อีก 5 แผ่น
3.3 ปิดรูปเครื่องหมายที่ชัดเจนมีขนาดกว้างยาวไม่เกิน 5 ซม. ทุกแผ่น รวมต้นฉบับเป็น 6 แผ่น (ถ้าเกิน 5 ซม. ชำระเงินเพิ่ม ซม.ละ 100บาท)
3.4 พิมพ์ข้อความลงในบัตรแข็ง ก.16 โดยข้อความทั้งหมดต้องตรงกับแบบพิมพ์ ก.01 ทุกรายการ รวม 2 แผ่น พร้อมปิดรูปเครื่องหมายทุกแผ่น
3.5 รูปเครื่องหมายที่ยื่นขอจดทะเบียนอีก 5 รูป
3.6 ภาพถ่ายบัตรประจำตัวเจ้าของเครื่องหมายในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา หรือต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ในกรณีเป็นนิติบุคคล
ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
ลักษณะของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่จะจดทะเบียนได้ จะต้องมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย โดยประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ
1.) มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือ มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อสินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น เช่น เป็นรูปหรือคำที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น ลายมือชื่อหรือภาพของผู้เป็นเจ้าของ เป็นต้น
2.) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ธงชาติ เครื่องหมายราชการ พระบรมฉายาลักษณ์ เป็นต้น
3.) ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าที่จะจดทะเบียนนั้น จะต้องไม่เหมือนกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือคล้ายกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจจะทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้า โดยพิจารณาจาก คำเสียงเรียกขาน รูปหรือภาพและการประดิษฐ์ของเครื่องหมาย เป็นต้น
ระยะเวลาที่ให้การคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
มีอายุความคุ้มครอง 10 ปี เมื่อจะครบกำหนดสามารถที่จะต่ออายุได้เป็นคราว ๆ คราวละ 10 ปี ประโยชน์ของเครื่องหมายการค้า
ประโยชน์ของเครื่องหมายการค้าเครื่องหมายการค้ามีประโยชน์ ดังนี้ คือ
1) เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถใช้เครื่องหมายการค้าการที่จะทําให้ผู้บริโภคสามารถจดจํา
หรือเรียกขานสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นซึ่งจะทําให้เทคนิคการตราสินค้า
ออกแบบตราสินค้าและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หน้า 4 จาก 20 สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 โดย ศิริพรณ์
ปีเตอร์ผู้บริโภคสามารถแยกแยะเพื่อเลือกซื้อสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นได้และไม่สับสนกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น
ๆ
2) เจ้าของเครื่องหมายที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วจะเป็นผู้ที่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมาย
การค้าและกรณีที่ผู้อื่นละเมิดสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าเจ้าของมีสิทธิที่จะฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหายได้และในกรณีที่มีผู้อื่นนําเอาเครื่องหมายการค้าของเจ้าของไปจดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายการค้าอาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้านั้นได้
3) เครื่องหมายการค้าจะช่วยผู้บริโภคให้สามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าได้โดยการส่งเกตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นและเครื่องหมายการค้าจะทําให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพตามต้องการได้รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคทราบถึงเจ้าของเครื่องหมายการค้าด้วย (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ม.ป.ป. : 11)
2) เจ้าของเครื่องหมายที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วจะเป็นผู้ที่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมาย
การค้าและกรณีที่ผู้อื่นละเมิดสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าเจ้าของมีสิทธิที่จะฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหายได้และในกรณีที่มีผู้อื่นนําเอาเครื่องหมายการค้าของเจ้าของไปจดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายการค้าอาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้านั้นได้
3) เครื่องหมายการค้าจะช่วยผู้บริโภคให้สามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าได้โดยการส่งเกตสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นและเครื่องหมายการค้าจะทําให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพตามต้องการได้รวมทั้งทำให้ผู้บริโภคทราบถึงเจ้าของเครื่องหมายการค้าด้วย (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ม.ป.ป. : 11)
ประวัติกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ประเทศไทยเป็นประเทศสังคมเกษตรกรรม ประชาชนมีอาชีพเกษตรกรรมมายาวนานเครื่องหมายการค้ายังมีบทบาทและ
ความสำคัญไม่มากนัก แต่เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
และมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าจากต่างประเทศทาง ตะวันตก
สถานการณ์ทางการค้าเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ความจำเป็นในการมีระบบเครื่องหมายการค้ามีมากขึ้นพร้อมกับบริษัทต่างชาติ
ข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
ทุกวันนี้หลายๆคนยังไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร ออกจากกันได้ว่าแตกต่างกันอย่างไร
ทุกวันนี้หลายๆคนยังไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร ออกจากกันได้ว่าแตกต่างกันอย่างไร
เครื่องหมายการค้า คือ ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกัน ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น หรือจะพูดง่ายๆก็คือเครื่องหมายการค้าเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของสินค้าของคุณนั่นเอง
ลิขสิทธิ์ คือ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงงานแพร่เสียงแพร่ภาพหรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดีแผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด หรือจะพูดง่ายๆก็คือลิขสิทธิ์ เป็นผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะของมนุษย์นั่นเอง
สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะแปลง่ายๆก็คือไม่ว่าเราจะคิดค้นสูตรอาหาร หรือประดิษฐ์อะไรขึ้นมาก็ตาม หากเราต้องการที่จะคุ้มครองสูตรหรือกระบวนการผลิตของเรา ก็สามารถนำสูตรหรือกระบวนการผลิตนั้นไปจดสิทธิบัตรเพื่อให้เกิดความคุ้มครองได้
สรุปก็คือเครื่องหมายการค้าจะใช้เพื่อแสดงว่าสินค้าเป็นของใคร ลิขสิทธิ์จะใช้ในงานศิลปะ และสิทธิบัตรจะใช้สำหรับสูตรหรือกระบวนการผลิต เมื่อรู้เช่นนี้แล้วก็จะสามารถแบ่งแยกได้แล้วว่าอย่างไหนจะเป็นเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร
เลขที่ฎีกา 968/2536
สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขที่ฎีกา 968/2536 โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย เมื่อปี 2524 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ออกหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน ให้โจทก์เมื่อปี 2525 ต่อมาปี 2530 บริษัท ฟ. ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แสดงว่าบริษัท ฟ.ได้ให้สัตยาบันการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย มีอำนาจฟ้องผู้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า FREEDOS ของจำเลยกับเครื่องหมายการค้าคำว่า FRITOS ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ ต่างก็เป็นคำในอักษรโรมันอ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์เหมือนกันคือ FREE กับ FRI พยางค์หนึ่งและ DOS กับ TOS อีกพยานหนึ่ง แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปประดิษฐ์เป็นตัวอักษร F สองตัว หันหลังชนกันอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมและมีคำภาษาไทยกำกับว่า ฟรีโดส์ แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำน่าจะมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานมากกว่าอย่างอื่น เครื่องหมายการค้า คำว่าFREEDOS ของจำเลยซึ่งอ่านว่า ฟรีโดส์ นั้น มีสำเนียงใกล้เคียงหรือเกือบเหมือนกับเสียงอ่านเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า ฟรีโดส์ หรือฟรีโตส์เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 6 ตัว ส่วนของจำเลยมี 7 ตัว แต่ซ้ำกันถึง 4 ตัว คือ F.R.O. และ S ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับตัวอักษร ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนการอ่านออกเสียงนั้น แม้คำของโจทก์จะสามารถอ่านออกเสียงได้หลายอย่าง ส่วนคำของจำเลยอ่านออกเสียงได้อย่างเดียว แต่ก็มีเสียงเกือบเหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์คือคำว่า ฟรีโดส์ของจำเลยกับ คำว่า ฟรีโตส์หรือ ฟรีโดส์ ของโจทก์ จึงถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลย มีลักษณะตัวอักษรและการอ่านออกเสียงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ถาม-ตอบ ทุกปัญหาด้านจดทะเบียนธุรกิจ / ขอใบอนุญาตทำงาน / ต่อวีซ่า
ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร การupdate ส่วนลดบริการด้านต่างๆ
พร้อมโปรโมชั่นอื่นๆอีกมากมาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.02-862-2727 www.cka.co.th
ขออนุญาตถาม/แบบ ก.01 กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะมีหน้าแรกและหน้าหลัง ถ้าต้องปริ้นต์ต้องติดกันหรือแยกเป็น 2 ฉบับ หรือเปล่า
ตอบลบขออนุญาตถาม/แบบ ก.01 กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะมีหน้าแรกและหน้าหลัง ถ้าต้องปริ้นต์ต้องติดกันหรือแยกเป็น 2 ฉบับ หรือเปล่า
ตอบลบhttps://www.xn--12cfbkd6eveige8fwa2ecc3e5h1f3a.net/ เคยใช้เว็ปนี้ครับจดเร็วมาก
ตอบลบ