C.K.A. Accounting and Law Co.,Ltd. เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ด้วยผลงานการจดเครื่องหมายการค้ามากกว่า 2,000 เครื่องหมาย
ราคาค่าบริการจดเครื่องหมายการค้า 6,990 บาท บริการจดเครื่องหมายการค้าแบบครบวงจร การันตีผลงาน ในราคาพิเศษ
จดเครื่องหมายการค้า >>>เข้าสู่เว็บไซด์หลัก www.cka.co.th โทร.02-862-2727<<<
CKA Accounting and Law
ราคาค่าบริการของ CKA Thai Trademark
|
ค่าบริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายละ 6,990 บาทดำเนินการ
ตั้งแต่ต้นจนจบรวมค่าตรวจเครื่องหมายการค้า ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายทุกอย่าง
*** ค่าตรวจสอบเครื่องหมายละ 2,000 บาท ****** ค่าบริการต่ออายุเครื่องหมายละ 5,490 บาท *** *** ค่าบริการโอนเครื่องหมายละ 6,990 บาท ***
ค่าบริการสำหรับคำปรึกษา การอุทธรณ์ คัดค้าน แสดงปฏิเสธ สัญญาอนุญาตให้ใช้หรืออื่น ๆ คิดค่าบริการแล้วแต่กรณี
. |
TradeMark
เครื่องหมายการค้า ( Trade Mark ) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วเจ้าของเครื่องหมายการค้า มีสิทธิที่จะดำเนินการขอจดทะเบียน เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน หรือ ขอจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า การต่ออายุทะเบียน
เครื่องหมายการค้าและ ขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
เครื่องหมายการค้า นั้น ๆ ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์คุ้มครองตามกฎหมาย ป้องกันผู้อื่นลอกเลียนก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจ ได้ " เครื่องหมายการค้า " จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือทางการตลาด หากได้มีการสร้างเครื่องหมายการค้า นี้ให้ติดตลาดแล้วลูกค้าจะจดจำ "แบรนด์" นี้ไว้ เพื่อเลือกสินค้าตามต้องการ
เครื่องหมายการค้า
หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543
ประเภทของเครื่องหมายการค้า
ประเภทของเครื่องหมายการค้า
มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. เครื่องหมายการค้า ( Trade Mark ) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ ( Service Mark ) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน
2. เครื่องหมายบริการ ( Service Mark ) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน
ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง ( Certification Mark ) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง ( Certification Mark ) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม ( Collective Mark ) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
รายการสินค้าและบริการที่ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย
รายการสินค้าและบริการที่ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย (ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556) แสดงรายละเอียดดังเอกสารแนบต่อไปนี้
1. สืบค้นรายการสินค้าและบริการ ในรูปแบบของ Microsoft Excel คลิกที่นี่!!
2. สืบค้นรายการสินค้าและบริการ ในรูปแบบของ Microsoft Access v.2000 คลิกที่นี่!!
3. สืบค้นรายการสินค้าและบริการ ในรูปแบบของ Microsoft Access v.2003 คลิกที่นี่!!
4. แสดงรายการสินค้าและบริการ โดยเรียงตามตัวอักษร ในรูปแบบของ PDF คลิกที่นี่!!
5. แสดงรายการสินค้าและบริการ โดยเรียงตามจำพวก ในรูปแบบของ PDF คลิกที่นี่!!
การได้มาซึ่งสิทธิในเครื่องหมาย
ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า มิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะต้องนำเครื่องหมายการค้าที่คิดขึ้น ไปทำการจดทะเบียนเสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
ลักษณะของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่จะ
จดทะเบียนได้ จะต้องมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย โดยประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ
จดทะเบียนได้ จะต้องมีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย โดยประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ
- มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือ มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อสินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น เช่น เป็นรูปหรือคำที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น ลายมือชื่อหรือภาพของผู้เป็นเจ้าของ เป็นต้น
- ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ธงชาติ เครื่องหมายราชการ พระบรมฉายาลักษณ์ เป็นต้น
- ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าที่จะจดทะเบียนนั้น จะต้องไม่เหมือนกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือคล้ายกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจจะทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้า โดยพิจารณาจาก คำเสียงเรียกขาน รูปหรือภาพและการประดิษฐ์ของเครื่องหมาย เป็นต้น
ระยะเวลาที่ให้การคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มีอายุความคุ้มครอง 10 ปี เมื่อจะครบกำหนดสามารถที่จะต่ออายุได้เป็นคราว ๆ คราวละ 10 ปี
ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร การupdate ส่วนลดบริการด้านต่างๆ
พร้อมโปรโมชั่นอื่นๆอีกมากมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น